ผลิต และจำหน่าย น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น แบรนด์ อัมฤทธิ์ น้ำมันมหัศจรรย์ สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันและรักษาโรค ฆ่าเชื้อโรคร้าย
คลิกกลับไปหน้าแรก Information Link


ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ข้อมูลโดยละเอียดของการใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

นำเสนอข้อมูลโดย คุณชายเอก


น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันและรักษาได้เป็นอันมาก เช่น โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์ HIV โรคไข้หวัดใหญ่ โรคซาร์ โรคเริม ฯลฯ

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น แนะนำโดย Akesirikul  จัดจำหน่ายน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นคุณภาพสูง สำหรับรับประทานเพื่อสุขภาพ ติดต่อโทร 081 1498007


คุณชายเอก จัดจำหน่ายน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ที่มีคุณค่าสูง แนะนำของ Tropicana 1000 CC ราคา 600 บาท
เหมาะสำหรับรับประทานเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกัน และรักษาโรค มีสุขภาพที่ดี
ติดต่อสั่งซื้อ โทร 081 1498007 จัดส่งทั่วประเทศทางไปรษณีย์ ตามราคาระยะทาง


เรื่องราวรายละเอียด และข้อมูลประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
 
- ความหมายของคำว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็น หรือกลั่นเย็น หรือสกัดเย็น
คำ ว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็น, น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์กลั่นเย็น หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น ล้วนมีความหมายอย่างเดียวกัน

มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Virgin Cold Pressed Coconut Oil เป็นการผลิตน้ำมันมะพร้าวโดยไม่ใช้ความร้อนและไม่ใช้สารเคมี เพื่อรักษาสารที่มีประโยชน์ในเนื้อน้ำมันมะพร้าว และป้องกันไม่ให้การจับตัวกันของโมเลกุลน้ำมันมะพร้าวเปลี่ยนแปรไปจนเป็นโทษ กับร่างกาย
 
- น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นขนานแท้จากธรรมชาติต้องเป็นไข
น้ำมัน มะพร้าวธรรมชาติจะแข็งตัวหรือเป็นไข เมื่ออากาศหนาวเย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25?C หากไม่แข็งตัวที่อุณหภูมิดังกล่าวแสดงว่า น้ำมันมะพร้าวขวดนั้นๆถูกผ่านกรรมวิธีด้วยความร้อนหรือสารเคมี ที่ทำให้การจับตัวของโมเลกุลน้ำมันมะพร้าวเปลี่ยนแปลงไป
 
- การอุ่นน้ำมันมะพร้าว
เมื่อ น้ำมันมะพร้าวเป็นไข ให้นำขวดลงแช่ในน้ำอุ่นจัดแต่ไม่ถึงกับร้อน (บางท่านใช้วิธีเป่าด้วยไดร์เป่าผม) น้ำมันมะพร้าวจะกลับมาเป็นของเหลวใสดังเดิม ข้อดีของการอุ่นน้ำมันมะพร้าวคือ น้ำมันมะพร้าวอุ่นๆจะแทรกซึมผ่านผิวหนังและรูขุมขนได้ดีขึ้น
 
- น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันสายปานกลาง
เนื่อง จากน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันที่มีคาร์บอนในโมเลกุลเพียง 8 - 12 ตัวเป็นส่วนมาก ผิดกับน้ำมันชนิดอื่นๆที่เป็นกรดไขมันสายยาว คือมีคาร์บอนในโมเลกุลตั้งแต่ 14 ตัวขึ้นไป ข้อดีของน้ำมันมะพร้าวที่เป็นกรดไขมันสายปานกลางก็คือ ย่อยง่าย เปลี่ยนเป็นพลังงานได้เร็ว ไม่สะสมตามเซลล์ไขมันหรือเกาะตัวตามผนังหลอดเลือดเหมือนน้ำมันทั่วไป
 
- กรดไขมันที่พบได้ในน้ำมันมะพร้าว
ในน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดลอริค 47.5% กรดคาปริลิค 7.8% กรดคาปริค 6.7% ที่เหลือเป็นกรดไขมันอีกหลายหลายชนิดอย่างละเล็กน้อย
 
- ตารางเปรียบเทียบกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันชนิดอื่น
กรดไขมันใน น้ำมันมะพร้าว

- ความหมายของคำว่าไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว
การจับ กันของโมเลกุลกรดไขมัน ถ้าจับกันแบบหลวมๆสามารถแปรเปลี่ยนได้ง่ายจะได้เป็นไขมันไม่อิ่มตัว แต่ถ้าจับกันแบบเหนียวแน่นไม่สามารถแปรเปลี่ยนได้ง่ายจะได้เป็นไขมันอิ่มตัว คำว่าอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวจึงหมายถึงการจับตัวกันของโมเลกุลกรดไขมัน ไม่ได้หมายความว่าเป็นน้ำมัน ดี หรือ ไม่ดี
 
- สาเหตุที่น้ำมันมะพร้าวถูกโจมตี
เมื่อ ประมาณ 40 ปีมาแล้ว กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกาได้ออกมาใช้ผลงานวิจัยโจมตี เหมาเอาว่าน้ำมันที่เป็นไขมันอิ่มตัวทั้งหมดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงพลอยรับผลกระทบนี้เข้าไป เต็มๆ แน่ละว่าเป็นเหตุผลทางการตลาด แต่หน่วยงานของรัฐกลับออกมาสนับสนุนด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ ที่ว่ารู้เท่าไม่ถึงการเนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลืองไม่ได้ระบุ ไว้ด้วยว่า ยกเว้นน้ำมันมะพร้าว (ในขณะนั้นอาจยังไม่รู้ข้อเท็จจริง)
 
- น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัวชนิดดี
เป็น ความจริงที่ไขมันอิ่มตัวส่วนมากทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น แต่มีไขมันอิ่มตัวบางชนิด (น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม) ไม่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ในทางกลับกันยังทำให้ระดับของ HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลดีเพิ่มขึ้น และระดับของ LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตออลร้ายลดลง อันที่จริงน้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ คือมีอยู่แค่ 14 PPM ในขณะที่น้ำมันปาล์ม, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, เนยเหลว และน้ำมันหมู มีคอเลสเตอรอลอยู่ที่ 18, 28, 50, 3150 และ 3500 PPM ตามลำดับ (PPM=1ส่วนในล้านส่วน)
 
- ข้อดีของไขมันอิ่มตัว
เพราะไขมันอิ่ม ตัวมีโมเลกุลที่จับกันอย่างแน่นหนา จึงไม่แปรสภาพหรือเสื่อมเสียได้ง่าย หากผสมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันไม่อิ่มตัว น้ำมันมะพร้าวจะช่วยรักษาน้ำมันไม่อิ่มตัวนั้นให้พลอยไม่เสื่อมสภาพไปง่ายๆ ด้วย ปัจจุบันจึงมีการใช้น้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวชนิดดี ผสมลงในอาหารเพื่อเป็นการเก็บรักษาหรือการถนอมอาหาร
 
- ข้อเสียของไขมันไม่อิ่มตัว
ข้อ เสียของไขมันไม่อิ่มตัวคือเสื่อมสภาพได้ง่ายนั่นเอง จึงต้องมีการนำไขมันไม่อิ่มตัวมาเพิ่มสารเคมีและให้ความร้อน ซึ่งเราเรียกว่าน้ำมันผ่านกรรมวิธี การนำน้ำมันมาผ่านกรรมวิธีทำให้เก็บรักษาได้นานขึ้นแต่ทำให้การจับตัวของ โมเลกุลกรดไขมันเปลี่ยนแปรไปเกิดเป็นกรดไขมันทรานส์ และไขมันทรานส์นี่เองที่เป็นโทษกับร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เบาหวาน และโรคหัวใจ สำหรับน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัว จึงไม่จำเป็นต้องผ่านกรรมวิธี ทำให้ไม่มีกรดไขมันทรานส์
 
- น้ำมันมะพร้าวไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งเมื่อถูกนำไปปรุงอาหารด้วยความร้อน
ด้วย ความที่น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัวไม่เสื่อมสภาพหรือแปรสภาพได้ง่าย จึงไม่เปลี่ยนรูปเป็นไขมันทรานส์ที่เป็นสารก่อมะเร็งเมื่อต้องถูกกับความ ร้อนหากนำไปใช้เป็นน้ำมันทอดอาหาร ซึ่งแตกต่างจากน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังมีอัตราการเกิดโพลิเมอร์ต่ำ หมายถึงสารเหนียวที่เกิดจากการทอดด้วยไฟแรง และไม่เหม็นหืนง่ายเหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัวทั่วๆไป
 
- น้ำมันมะพร้าวไม่เป็นโทษกับร่างกาย
พอ ล ซอร์ซี่ ต้นตำรับของการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็น บิดาของพอลเป็นแพทย์แผนโบราณ พอลจึงรับประทานน้ำมันมะพร้าวมาแต่เล็กๆทุกวันวันละ 2 ช้อน ใช้น้ำมันมะพร้าวนวดตัวตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าทุกวัน ปรุงอาหารทุกชนิดด้วยน้ำมันมะพร้าว (พอลเป็นพ่อครัวชั้นดี เคยทำงานเป็นกุ๊กในโรงแรมหรูอย่าง วอลดอล์ฟแอสโตเรีย) พอลมีอายุยืนยาวถึง 102 ปี
 
- แร่ธาตุที่สำคัญและวิตะมินบางชนิดต้องละลายในไขมัน
แค ลเซี่ยม แม็กเนเซี่ยม เบตาแคโรทีน วิตะมิน A, D, E, K ล้วนต้องละลายในไขมันร่างกายจึงจะดูดซับไปใช้งานได้ คนเราจึงไม่สามารถขาดการบริโภคไขมัน เพราะน้ำมันมะพร้าวย่อยง่าย เปลี่ยนเป็นพลังงานได้เร็ว จึงช่วยนำแร่ธาตุและวิตะมินต่างๆเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายได้เร็ว
 
- น้ำมันมะพร้าวช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
หากร่าง กายขาดแคลเซี่ยมและแม็กเนเซี่ยม จะทำให้กระดูกไม่แข็งแรง เกิดอาการกระดูกเปราะ แตกหักง่าย การรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซับแคลเซี่ยมและ แม็กเนเซี่ยม จึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
 
- น้ำมันมะพร้าวเป็นประโยชน์กับทารกและตัวอ่อนในครรภ์
เพราะ น้ำมันมะพร้าวทำให้ร่างกายดูดซับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย หากผู้ที่กำลังจะเป็นคุณแม่รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยน้ำมันมะพร้าว ทารกจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างพอเพียง นอกจากนั้นในน้ำมันมะพร้าวยังประกอบด้วยกรดลอริค ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบได้ในน้ำนมแม่ การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหาร และกรดลอริคนี่เองที่มีอำนาจในการฆ่าเชื้อโรค ทำให้ทารกแข็งแรงมีภูมิคุ้มกัน
 
- น้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์กับผู้มีปัญหาเรื่องตับ
จาก ที่กล่าวแล้วว่าคนเราจำเป็นต้องรับประทานไขมัน แต่น้ำมันส่วนมากเป็นกรดไขมันสายยาวจึงย่อยยาก ต้องอาศัยน้ำดีและเอนไซม์จากตับเป็นตัวช่วยย่อย กระบวนการการย่อยไขมันจะเกิดที่ลำไส้ ผู้ที่เป็นเบาหวานตับอ่อนบกพร่อง หรือผู้ที่เคยผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกจะรู้กันดีว่ามีปัญหาเรื่องย่อยไขมัน สำหรับน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันสายปานกลาง ย่อยง่ายสามารถย่อยได้แม้ในกระเพาะอาหาร น้ำมันมะพร้าวจึงมีประโยชน์มากกับผู้มีปัญหาเรื่องตับ
 
- น้ำมันมะพร้าวถูกใช้เป็นอาหารเสริมกำลังแก่นักกีฬา
ด้วย ความที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้สร้างเป็นพลังงานได้เร็ว น้ำมันมะพร้าวจึงถูกนำไปทำเป็นอาหารบำรุงกำลังแก่นักกีฬาทั้งแบบชงดื่มและ แบบแท่ง ทั้งนี้ไม่เป็นการผิดกฏ เนื่องจากการใช้น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มพลังงานไม่มีผลตกค้างและผลข้างเคียง แบบการใช้ยาหรือการใช้สารกระตุ้น
 
- น้ำมันมะพร้าวกับการทำงานของต่อมไทรอยด์
บาง ขณะการทำงานของต่อมไทรอยด์ติดอยู่ในอัตราที่ต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนามของปัญหาไทรอยด์ต่ำ การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจะช่วยบู๊สท์พลังงานให้กับต่อมไทรอยด์ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวให้พลังงานสูง ดูดซับเร็ว จึงสามารถกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานในอัตราปรกติได้
 
- น้ำมันมะพร้าวช่วยปกป้องคุ้มครองไต
โรค ไตเป็นสภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ไตวายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิตของโรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้รับการควบคุมเป็นเวลานานปัญหาการไหลเวียนจึง เกิดขึ้น สร้างความเสียหายให้กับเส้นเลือดเล็กๆที่ไต มีหลักฐานว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกันไตจากความเสียหาย และช่วยให้กลับมาทำงานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างจากงานศึกษาชิ้นหนึ่ง สภาวะไตวายถูกทำให้มีขึ้นในสัตว์ทดลอง กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะพร้าวมีความเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้นกับไตน้อยกว่า และมีอายุอยู่ได้นานกว่า นักวิจัยสรุปว่าน้ำมันมะพร้าวมีผลในการช่วยป้องกันไต ถ้าความเสียหายไม่รุนแรงจนเกินไป น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นอย่างถาวร น้ำมันมะพร้าวจะช่วยไม่ให้อาการเลวร้ายลงกว่าเดิม
 
- น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ
น้ำมัน มะพร้าวเมื่อแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค การรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจะทำให้เชื้อโรคร้ายต่างๆในร่างกายของ เราลดลง ทำให้ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย การฆ่าเชื้อของน้ำมันมะพร้าวไม่เหมือนกับการฆ่าเชื้อด้วยยาปฎิชีวนะ จึงไม่ทำให้เชื้อเกิดการดื้อยา นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังช่วยขับถ่ายพยาธิอีกด้วย
 
- น้ำมันมะพร้าวกับปัญหาเชื้อรา
เชื้อ ราในที่นี้มีชื่อว่าเชื้อราแคนดิดา คุณผู้หญิงจะรู้จักมันในรูปแบบของเชื้อราในช่องคลอด บรรดาคุณพ่อคุณแม่จะรู้จักมันในรูปแบบของเชื้อราที่เกิดตามปากและช่องคอของ เด็กอ่อน หรือเชื้อราตามผิวหนังที่เกิดภายใต้ความอับชื้นของผ้าอ้อม ปกติเชื้อราแคนดิดาอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์อย่างไม่มีพิษภัย เนื่องจากถูกสารที่เกิดจากแบ็คทีเรียชนิดดีคอยควบคุมไว้ จึงมีจำนวนไม่มากนัก แต่เมื่อเรารับประทานยาบางชนิดโดยเฉพาะ ยาปฏิชีวนะ จำพวกสเตียรอยด์ (คอร์ซิโตน, เอทีซีเอช, เพร็ดนิโซน, และยาคุมกำเนิด) ยาพวกนี้จะฆ่าแบ็คทีเรียในลำไส้ของเราไม่ว่าเป็นชนิดดีหรือชนิดร้าย แต่ไม่ฆ่าเชื้อราแคนดิดา เมื่อไม่มีแบ็คทีเรียคอยควบคุม เชื้อราแคนดิดาจะทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างของตัว เองเป็นราหลายเซลฝังตัวลงในลำไส้ ทำให้ลำไส้เป็นแผล เกิดโรคลำไส้อักเสบ น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราพวกนี้ และสามารถคืนความสมดุลให้กับลำไส้เมื่อเรารับประทานเป็นประจำ
 
- น้ำมันมะพร้าวช่วยแก้ปัญหาการอักเสบเรื้อรัง
ท่าน ที่มีปัญหาไม่สบายเนื้อตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ผิวหนังมีอาการแพ้หรืออักเสบเรื้อรังเป็นรอยด่างดำ มีการอักเสบที่ระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสียเรื้อรัง การรับประทานน้ำมันมะพร้าวทุกวันสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะน้ำมันมะพร้าวจะเข้าไปช่วยสร้างความสมดุลในระบบทางเดินอาหารเช่นใน กระเพาะและลำไส้ ช่วยลดจำนวนของแบ็คทีเรียร้าย และทำให้แบ็คทีเรียชนิดดีเพิ่มปริมาณมากขึ้น
 
- น้ำมันมะพร้าวไม่ทำอันตรายแบ็คทีเรียชนิดดีในลำไส้
ใน ร่างกายของคนเรา ส่วนมากในลำไส้จะประกอบด้วยแบ็คทีเรียชนิดที่เป็นคุณและเป็นโทษกับร่างกาย แบ็คทีเรียชนิดดีจะคอยควบคุมของปริมาณของแบ็คทีเรียร้ายไม่ให้มีมากเกินไป การรับประทานยาบางชนิดจะไปฆ่าแบ็คทีเรียทั้งชนิดที่เป็นโทษและเป็นคุณกับ ร่างกาย การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจะไม่ฆ่าแบ็คทีเรียชนิดดี เพราะแบ็คทีเรียชนิดดีก็เช่นเดียวกับร่างกายหรือเซลล์ของร่างกาย ที่ชอบแต่อาหารที่ดีมีประโยชน์ ต่างกับแบ็คทีเรียร้ายที่ชอบอาหารพวกคาร์โบไฮเดรท
 
- น้ำมันมะพร้าวเป็นสารแอนตีออกซิแดนท์
การ เสื่อมสภาพหรือการออกซิเดชั่นของไขมันนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งภายนอกและภายในร่างกาย การเสื่อมสภาพของไขมันในร่างกายทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆมากมาย เช่นทำให้เกิดโรคมะเร็ง เส้นเลือดอุดตันอันนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ การเสื่อมของประสาทตาในโรคเบาหวานเป็นต้น เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวสามารถยับยั้งการเสื่อมสภาพของไขมัน ช่วยลดอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของไขมันในร่างกาย น้ำมันมะพร้าวจึงเป็นสารแอนตีออกซิแดนท์
 
- น้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหัวใจ และเบาหวาน
ด้วย เหตุที่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดอนุมูลอิสระ อันเกิดจากการเสื่อมสภาพหรือการออกซิเดชั่นภายในร่างกาย จึงช่วยลดการเสื่อมของหลอดเลือดหัวใจ ลดการเสื่อมของดวงตาในกรณีของโรคเบาหวาน และลดอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง น้ำมันมะพร้าวจึงทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆด้วยเหตุนี้
 
- น้ำมันมะพร้าวทำให้เหงือกแข็งแรง
ปัญหา โรคเหงือก เหงือกช้ำ บวม แดง หรือมีเลือดออกตามไรฟัน สามารถแก้ได้โดยการรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ เพราะน้ำมันมะพร้าวทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้เหงือกแข็งแรง (อาการเกี่ยวกับเหงือกอาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน)
 
- น้ำมันมะพร้าวกับการทำออยล์พูลลิ่ง
ออยล์ พูลลิ่งเป็นการบำบัดด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยการอมและเคลื่อนน้ำมันไปทั่วช่องปากประมาณวันละ 15-20 นาทีจึงบ้วนทิ้งไป ออยล์พูลลิ่งจะดึงแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหรือสร้างสารพิษออกจากช่องปาก ทำให้ช่องปากรวมไปถึงร่างกายมีสุขภาพดี น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นเหมาะจะใช้ทำออยล์พูลลิ่ง เนื่องจากเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันพืชชนิดใด มีความสะอาด และยังมีกลิ่นรสเป็นที่น่าพอใจอีกด้วย
 
- เรื่องราวของน้ำมันมะพร้าวกับต่อมลูกหมาก
ชาย ผู้หนึ่งอาศัยในประเทศฟินแลนด์ มีปัญหาต่อมลูกหมากโตทำให้ปัสสาวะลำบากมาเป็นเวลากว่าสิบปีจนต้องรับประทาน ยาติดต่อกันมา 7-8 ปีแล้ว แต่ผลข้างเคียงของยาทำให้คัดจมูก ชายผู้นี้ได้ความรู้จากอินเตอร์เน็ทว่า น้ำมันปาล์มสกัดสามารถแก้ปัญหาต่อมลูกหมากโตโดยไม่มีผลข้างเคียง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำมันปาล์มสกัดแทนยาโดยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาเขาสังเกตว่ากรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวและกรดไขมันในน้ำมันปาล์มนั้นมี ความเหมือนกันในส่วนประกอบหลัก จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันปาล์มสกัดที่หาซื้อยากในฟินแลนด์ ปัจจุบันเขารับประทานน้ำมันมะพร้าวติดต่อกันมาได้ 3 ปีแล้วโดยไม่มีปัญหากับการปัสสาวะ
 
- น้ำมันมะพร้าวกับเอนไซม์
เอนไซม์ มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต จึงมีความสำคัญกับชีวิตเป็นอย่างมาก หากเอนไซม์หยุดทำงานชืวิตจะดับสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ยาพิษที่ชื่อไซยาไนด์มีฤทธิ์หยุดยั้งการทำงานของเอนไซม์ เมื่อเข้าไปสู่ร่างกายจะทำให้เสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาทีเพราะไปหยุด ยั้งการทำงานของเอนไซม์
แต่ถ้าเอนไซม์ในร่างกายบกพร่องมีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากรับประทานอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ ร่างกายจะเสื่อมโทรมเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ น้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยให้ร่างกายประหยัดเอนไซม์ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีส่วนทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงในอีกทางหนึ่ง
 
- น้ำมันมะพร้าวกับเอดส์
การ ทดลองเรื่องผลของน้ำมันมะพร้าวที่มีต่อไวรัส HIV ทำขึ้นครั้งแรกที่โรงพยาบาลซานลาซาโรในประเทศฟิลิปปินส์ การทดลองกระทำกับกลุ่มคนไข้อายุ 22-38 ปีที่ไม่เคยรับการรักษา HIV มาก่อน การทดลองใช้ระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองวัดจากปริมาณไวรัสในเลือดและปริมาณของ CD4 (ซีดีโฟร์-ปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดขาว) โดยให้คนไข้บางส่วนรับประทานน้ำมันมะพร้าววันละ 3? ช้อนโต๊ะหรือน้อยกว่าเป็นประจำทุกวัน และให้คนไข้บางส่วนรับประทานโมโนลอริน ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอร์ไรด์ของกรดลอริคในน้ำมันมะพร้าว เมื่อสิ้นสุดการทดลอง คนไข้ 8 ใน 14 คนมีปริมาณไวรัสในเลือดลดลง, 5 คนมีปริมาณ CD4 เพิ่มขึ้น และ 11 คนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการมีสุขภาพดีขึ้น น.พ.คอนราโด เดย์ริท กล่าวว่า "ผลการทดลองนี้ยืนยันคำกล่าวที่ว่า น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและสามารถช่วยให้ปริมาณไวรัส HIV ลดลงได้"
 
- การรับประทานน้ำมันมะพร้าว
คำถามแรกที่ผู้เริ่มเรียน รู้ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวมักจะถามคือ ควรรับประทานน้ำมันมะพร้าวในปริมาณวันละเท่าไร? คำตอบคือ วันละเท่าไรก็ได้ที่คุณรู้สึกเหมาะสม แม้แต่วันละครึ่งช้อนก็มีประโยชน์ ขนาดที่แนะนำคือ 3? ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ทั่วๆไป เป็นปริมาณที่อัตราส่วนพอๆกับกรดไขมันสายปานกลางธรรมชาติที่พบในน้ำนมแม่ ซึ่งเป็นปริมาณเพียงพอที่จะป้องกันทารกจากการติดเชื้อ การเจ็บไข้ได้ป่วย และช่วยในการรับสารอาหารที่มีคุณค่าในสภาวะปกติทั่วๆไป โดยเฉลี่ยรับประทานคราวละน้อยตลอดทั้งวันจนครบจำนวน สำหรับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 70กก. ปริมาณ 3? ช้อนโต๊ะเป็นปริมาณที่เหมาะสม ผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่านี้สามารถลดปริมาณลง ? ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักที่น้อยลง 10กก. ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 70กก. รับประทานวันละ 4 ช้อนโต๊ะถือเป็นปริมาณที่เหมาะสม
 
- น้ำมันมะพร้าวให้ผลดีที่สุดกับการบำรุงผิว
นอก จากการเสื่อมสภาพหรือการเกิดออกซิเดชั่นจะเกิดขึ้นภายในร่างกายแล้ว การออกซิเดชั่นสามารถเกิดขึ้นภายนอกร่างกายได้เช่นเดียวกัน การเสื่อมสภาพภายนอกร่างกายเกิดขึ้นที่ผิวนั่นเอง ซึ่งจะออกในรูปของการแพ้ เกิดรอยด่างดำต่างๆ แม้แต่ผิวหนังเหี่ยวย่นก็เป็นผลของการเกิดออกซิเดชั่น การทาน้ำมันมะพร้าวที่ผิวจึงเป็นการลดหรือกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นกับ ผิวนั่นเอง น้ำมันมะพร้าวยังปลอดภัยกับผิวเด็กเราจึงสามารถใช้ทาผิวทารก
 
- น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยวิตะมิน E คุณภาพสูง
วิ ตะมิน E ในน้ำมันมะพร้าวเป็นสารโทโคไทรอินอล ซึ่งเป็นรูปแบบของวิตะมิน E ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิตะมิน E อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสารโทโคเฟอรอล ซึ่งใช้กันอยู่ในเครื่องสำอางรักษาผิวทั่วไปถึง 40-50 เท่า
 
- น้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกัน-รักษาฝ้า กระ และสามารถใช้เป็นยากันแดด
อนุมูล อิสระเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นฝ้าและกระ วิตะมิน E ในน้ำมันมะพร้าวจะทำหน้าที่ละลายอนุมูลอิสระเหล่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยากันแดดได้ดีอีกด้วย เนื่องจากเมื่อแห้งแล้วไม่เหนียวเหนอะหนะ
 
- น้ำมันมะพร้าวทำความสะอาดรูขุมขนช่วยลดปัญหาเรื่องสิว
เมื่อ ผิวหน้าของเราสกปรกรูขุมขนถูกอุดตัน ร่างกายไม่มีช่องทางให้ขับถ่ายของเสียจึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องสิว ฝี และใบหน้าเกิดริ้วรอย การใช้เครื่องสำอาง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รูขุมขนถูกอุดตัน แต่รู้สึกว่าจะเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับคุณสาวๆ พอล ซอร์ซี่ บิดาแห่งการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นกล่าวว่า เมื่อเราทาน้ำมันมะพร้าวที่ผิว น้ำมันจะซึมผ่านรูขุมขนและทำความสะอาดมัน ทำให้ร่างกายมีช่องทางขับถ่ายของเสีย เพื่อเป็นการทดลอง พอลให้ใครสักคนเคี้ยวหมากฝรั่ง หลังจากนั้นพอลให้น้ำมันมะพร้าวแก่เขา 1 ช้อน หลังจากเคี้ยวหมากฝรั่งไปพร้อมกับน้ำมันมะพร้าว หมากฝรั่งจะค่อยๆละลายหายไปในปาก "นี่เป็นสิ่งเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับสิ่งสกปรกที่อุดตันรูขุมขน" พอลกล่าว
 
- น้ำมันมะพร้าวช่วยสมานผิวป้องกันการเกิดปัญหาหน้าท้องลาย
น้ำมัน มะพร้าวยังช่วยเร่งฟื้นฟูอาการบาดเจ็บและติดเชื้อของผิวหนังทุกชนิด ป้องกันการเกิดแผลเป็นที่น่าเกลียด หากใช้ก่อนล่วงหน้าอาการบาดเจ็บนั้นๆจะหายเร็วยิ่งขึ้น จึงเป็นการดีที่จะใช้เป็นประจำทุกวัน คุณผู้หญิงที่ต้องการจะเป็นแม่ หากนวดน้ำมันมะพร้าวที่หน้าท้อง ทุกวันตั้งแต่ก่อนไปจนตลอดและหลังการคลอด การเกิดท้องลายจะไม่เป็นปัญหา หรือผู้ที่เล่นเพาะกายเมื่อทำขนาดของร่างกายและกล้ามเนื้อให้ใหญ่ขึ้น บางคนมีริ้วรอยที่เกิดจากการยืดของผิวหนัง ปัญหานี้แก้ได้ด้วยน้ำมันมะพร้าว
 
- วิธีใช้น้ำมันมะพร้าวดูแลเส้นผมรากผมและหนังศีรษะ
น้ำมัน มะพร้าวช่วยให้ผมเป็นเงางามแข็งแรง บางคนกล่าวว่าช่วยให้ผมไม่หงอกก่อนวัยและช่วยให้ผมไม่ร่วงป้องกันศีรษะล้าน ยังดีต่อหนังศีรษะและช่วยควบคุมรังแค วิธีใช้น้ำมันมะพร้าวดูแลเส้นผมรากผมและหนังศีรษะ ชโลมให้ทั่วหนังศีรษะ ด้วยปริมาณที่เหมาะสมประมาณหนึ่งถึงสองช้อนชา นวดหนังศีรษะจนน้ำมันแทรกซึมทั่วหนังศีรษะและเส้นผมแต่อย่าใช้มากจนเปียก เกินไป หลังจากนั้น ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที (ยิ่งทิ้งไว้นานเท่าไรยิ่งดี) เพื่อให้น้ำมันแทรกซึมสู่หนังศีรษะจึงค่อยสระออก คุณอาจใช้ใส่ผมตั้งแต่ตื่นนอน และทิ้งไว้จนกระทั่งอาบน้ำตอนเช้าจึงสระออก หรือคุณอาจใช้ใส่ผมในตอนกลางคืนก่อนนอน โดยใช้หมวกอาบน้ำคลุมผมไว้ แล้วค่อยสระออกเมื่ออาบน้ำตอนเช้าก็ได้ คุณจะประหลาดใจที่ผมของคุณดูสวยเป็นเงางามและมีรังแคลดน้อยลง
 
- น้ำมันมะพร้าวเหมาะจะใช้เป็นน้ำมันนวด
น้ำมัน มะพร้าวเหมาะที่สุดที่จะใช้เป็นน้ำมันนวด (massage therapy) เนื่องจากคุณสมบัติในการฟื้นฟูของมัน ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพแข็งแรงดูมีน้ำมีนวล และยัง ช่วยผ่อนคลาย ลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ที่สำคัญไม่ทำให้เสื้อผ้าเปื้อน จึง ไม่ทำให้ที่นอนหรือผ้าปูที่นอนเสียหาย หากแม้คุณทำหกบนที่นอน รอยเปื้อนจะต่างจากรอยเปื้อนของน้ำมันอื่น น้ำมันมะพร้าวอย่างเดียวก็เหมาะจะใช้เป็นน้ำมันนวด อย่างไรก็ตาม น้ำมันมะพร้าวร่างกายสามารถดูดซับได้ง่าย ผู้นวดหลายคนจึงผสมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียวชั้นดีอย่าง น้ำมันอัลมอนด์ ในอัตราส่วน น้ำมันอัลมอนด์ 1 ส่วนต่อน้ำมันมะพร้าว 2 ส่วน ซึ่งทำให้น้ำมันมีความเรียบลื่นขึ้นเมื่อนวดผ่านผิวหนัง
 
- สามารถใช้น้ำมันมะพร้าวนวดบรรเทาปัญหาข้ออักเสบ
ปัญหา ข้ออักเสบ ขัด บวม และเจ็บปวด สามารถบรรเทาได้โดยการใช้น้ำมันมะพร้าวทาให้ชุ่มและนวดตรงบริเวณที่มีปัญหา เป็นประจำหรืออาจใช้ผ้าพันไว้ อาการบวมจะลดลง และความเจ็บปวดก็จะลดลงด้วย
 
- น้ำมันมะพร้าวกับการควบคุมน้ำหนัก
หาก จะถามว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่? คำตอบคือ จริง แต่เป็น การช่วยทางอ้อม ไม่ได้เป็นผลโดยตรง ข้อดีของน้ำมันมะพร้าวอยู่ที่ เป็นกรดไขมันสายปานกลาง จึงย่อยได้ง่ายกว่า (ไขมันชนิดอื่นเป็นกรดไขมันสายยาว ต้องใช้เอ็นไซม์จากตับอ่อนเป็นตัวช่วยย่อย) และถูกส่งไปที่ตับโดยตรงเพื่อสร้างพลังงาน ทำให้ไม่ไหลเวียนในเส้นเลือดและสะสมตามเซลล์ไขมันเหมือนไขมันชนิดอื่นๆ ยังให้พลังงานได้มากกว่า ทำให้อิ่มเร็วขึ้นและอิ่มนาน ผลคือรับประทานอาหารน้อยลง เพียงแค่ เปลี่ยนมาใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารแทนน้ำมันชนิดอื่นๆที่ใช้อยู่เป็นประจำ จะทำให้นน.ลดลงได้หลายกก.ใน 3 เดือน การควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนักด้วยการรับประทานน้ำมันมะพร้าว จึงต้องกระทำด้วยสามัญสำนึกของการลดนน. คือต้องออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรท โดยเฉพาะน้ำตาลฟอกขาว ข้าวขัดขาว ขนมปังขาว และควรรับประทานผักสดและผลไม้สดให้มาก
 
เอกสารอ้างอิง
 
- น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น (Virgin coconut oil) มีการผลิตและจำหน่ายแพร่หลายในท้องตลาด โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปิน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย / Marina AM, Che Man YB, Amin I. Virgin coconut oil: Emerging functional food oil.  Trends in Food Science & Technology.  2009; 20: 481-7.

- น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว 90% (saturated fatty acid) ซึ่งเป็นกรดลอริค (Lauric acid) 45-48% และเป็นกรดไขมันชนิดสายสั้น และสายกลาง 30-36% / Wang LL, Yang BK, Parkin KL, Johnson EA.  Inhibition of Listeria monocytogenes by monoacylglycerols synthesized from coconut oil and milkfat by lipase-catalyzed glycerolysis.  Journal of Agricultural and Food Chemistry.  1993;41:1000-5.

- ผลของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็นต่อเชื้อจุลชีพ พบว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็นสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ในผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) ได้ 95% / Verallo-Rowell VM, Dillague KM, Syah-Tjundawan BS.  Novel antibacterial and emollient effects of coconut and virgin olive oils in adult atopic dermatitis.  Dermatitis.  2008;19:308-15.

- กรดไขมันลอริคในน้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes) / Wang LL, Yang BK, Parkin KL, Johnson EA.  Inhibition of Listeria monocytogenes by monoacylglycerols synthesized from coconut oil and milkfat by lipase-catalyzed glycerolysis.  Journal of Agricultural and Food Chemistry.  1993;41:1000-5.

- ฤทธิ์ในการต้านเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ไนเกอร์ (Aspergillus niger) / Rihakova Z, Filip V, Plockova M, Smidrkal J, Cervenkova R.  Inhibition of Aspergillus niger DMF 0801 by monoacylglycerols prepared from coconut oil.  Czech-Journal-of-Food-Sciences-UZPI.  2002;20:48-52.

- เชื้อราตระกูลแคนดิดา (Candida spp.) / Ogbolu DO, Oni AA, Daini OA, Oloko AP.  In vitro antimicrobial properties of coconut oil on Candida species in lbadan, Nigeria. J Med Food.  2007;10:284-7.

- น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ในทางการแพทย์ โดยมีการใช้น้ำมันมะพร้าวในการบรรเทาอาการจากแผลไฟไหม้ (Burn wound) / Chaichit C.  Thai Herbs and Herbal Products.  Bangkok: Srimuang Printing Co.; 2004.

- น้ำมันมะพร้าวจะมีบทบาทช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย พบว่ากรดลอริคในน้ำมันมะพร้าวเป็นสารตั้งต้นของโมโนลอรินที่มีบทบาทในการ เพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกัน (Immune cell proliferation) / Witcher KJ, Novick RP, Schlievert PM.  Modulation of immune cell proliferation by glycerol monolaurate.  Clin Diagn Lab Immunol.  1996;3:10-3.

- น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammation) ลดอาการปวด (Analgesic) ลดไข้ (Antipyretic) / Intahphuak S, Khonsung P, Panthong A.  Anti-inflammatory, analgesic, and antipyretic activities of virgin coconut oil.  Pharm Biol.  2010;48:151-7.

- น้ำมันมะพร้าวทาบริเวณแผลที่ผิวหนังในหนูทดลองจะพบว่าช่วยลดระยะเวลาในการ หายของแผลให้เร็วขึ้น และพบว่ามี Pepsin soluble collagen เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงว่ามีการสานต่อของเส้นใยคอลลาเจนและ มีการทำงานของ Glycohydrolase สูงขึ้น แสดงถึงอัตราการผลัดเซลล์คอลลาเจน (Turnover of collagen) ที่สูงขึ้น น้ำมันมะพร้าวจะพบว่ามีการเพิ่มจำนวนของไฟโบรบลาส (Fibroblast proliferation) และมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ (Neovascularization) เกิดขึ้น / Nevin KG, Rajamohan T.  Effect of topical application of virgin coconut oil on skin components and antioxidant status during dermal wound healing in young rats. Skin Pharmacol Physiol.  2010;23:290-7.


สงวนลิขสิทธิ์ การออกแบบหน้าเว็บเพจเว็บไซต์สไตล์หน้าแรก index โดยAKE เอกสิริกุล ผู้ออกแบบ และเจ้าของลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอกเรียนแบบ ห้ามดัดแปลงใดๆในรูปแบบของหน้า Index